LPN ตั้งเป้ายอดขายปี 52 หมื่นล้าน เชื่อนโยบายรัฐและความแข็งแกร่งภายใน ดันบริษัทและภาคอสังหาฟื้นเศรษฐกิจประเทศ

Backมกราคม 28, 2552

LPN ตั้งเป้ายอดขายปี 52 หมื่นล้าน เชื่อนโยบายรัฐและความแข็งแกร่งภายใน ดันบริษัทและภาคอสังหาฟื้นเศรษฐกิจประเทศ

 

LPN เตรียมปล่อย 6-8 โครงการคุณภาพ ตั้งเป้าขายปี 52 10,000 ล้านบาท และแผนรับรู้รายได้ 8,000 ล้านบาท จาก 7 โครงการ มั่นใจสามารถฝ่าวิกฤติด้วยประสบการณ์ที่ผ่านมา บวกความเชื่อมั่นที่แข็งแกร่งต่อแบรนด์ "ลุมพินี" รวมถึงการพัฒนาคุณค่าของสินค้าและ บริการด้วยหลัก "Value Engineering" และความเข้มข้นของการบริหารงานและการบริหารชุมชน เชื่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐหนุนภาคอสังหาเป็นตัวจักรสำคัญในการสร้าง งานและพลิกฟื้นเศรษฐกิจ

ลุมพินี วิลล์ รามอินทรา - หลักสี่ - - นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) เปิดเผยว่าในปี 2552 นี้ LPN มีแผนพัฒนาโครงการใหม่ 6-8 โครงการ มูลค่ารวมมากกว่า 10,000 ล้านบาท จากโครงการในลักษณะโครงการขยาย (Expand Project) ในทำเลที่ LPN ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และมีฐานลูกค้า ที่มีความเชื่อมั่นต่อแบรนด์ "ลุมพินี" เช่น ประชาชื่น-พงษ์เพชร, บางแค, รามอินทรา-หลักสี่ นอกจากนั้น ยังมีแผนรับรู้รายได้จำนวน 8,000 ล้านบาท จาก 7 โครงการหลักซึ่งแล้วเสร็จในปี 2552 นี้ ได้แก่ ลุมพินี วิลล์ รามอินทรา-หลักสี่, ลุมพินี วิลล์ ประชาชื่น-พงษ์เพชร, ลุมพินี วิลล์ รามคำแหง 26, ลุมพินี สวีท ปิ่นเกล้า, ลุมพินี สวีทและลุมพินี เพลส พระราม 8 และลุมพินี คอนโดทาวน์ รัตนาธิเบศร์ สำหรับแนวทางในการพัฒนาโครงการนำร่อง (Pilot Project) นั้น บริษัทฯ จะใช้ Model ของโครงการลุมพินี วิลล์ บางแค ซึ่งเปิดตัวส่งท้ายปลายปีที่ผ่านมาและสามารถปิดการขายได้ภายในเวลาเพียง 3 ชั่วโมง ทำให้ LPN มั่นใจในวิสัยทัศน์การเลือกทำเลที่โดดเด่น มีศักยภาพ อันเนื่องมาจากการทำวิจัยอย่างต่อเนื่อง

"LPN มองว่าปี 2552 นี้ น่าจะเป็นโอกาสของบริษัทท่ามกลางสภาวะวิกฤติ อันเป็นผลจากปัจจัยภายนอกและภายในบริษัทประกอบกัน โดยปัจจัยภายนอกนั้น ถึงแม้ว่าภาพรวมเศรษฐกิจจะยังคงอยู่ในภาวะน่าวิตกซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภค ระมัดระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น แต่ด้วยนโยบายของภาครัฐที่มุ่งกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้ภาคอสังหาริมทรัพย์เป็น ตัวขับเคลื่อน ด้วยมาตรการทั้งทางด้านการคลังและการเงิน เช่น การลดหย่อนภาษีเพิ่มแก่บุคคลธรรมดาในการซื้อบ้านหลังแรกในปีภาษี 2552 ประกอบกับความต้องการที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะคอนโดมิเนียมคุณภาพยังคงมีอยู่ เป็นจำนวนมากจึงน่าจะเป็นโอกาสดีในการเร่งการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของ ลูกค้าต่อคอนโดของ LPN" 

"ด้านปัจจัยภายในนั้น ด้วยประสบการณ์ที่ LPN เรียนรู้จากการผ่านวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้เราทราบสถานการณ์ล่วงหน้า และเตรียมรับมือกับวิกฤติครั้งนี้อย่างทันเหตุการณ์และมีประสิทธิภาพ อันได้แก่ การบริหารสภาพคล่องทางการเงิน การระบายสินค้าคงคลัง การปรับแผนงานก่อสร้างให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดเดิมในทุกโครงการ การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ รวมทั้งการวางแผนรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจส่งผลกระทบกับบริษัทไว้หลายระดับ และหากมีปัญหาสภาพคล่องอย่างรุนแรงในระบบสถาบันการเงิน บริษัทจะสามารถก่อสร้างโครงการต่อจนแล้วเสร็จโดยไม่ต้องอาศัยแหล่งเงินกู้ จากสถาบันการเงิน ประกอบกับฐานลูกค้าของ LPN ที่มีมากกว่า 50,000 ราย ซึ่งยังไม่รวมผู้ที่สนใจเข้าชมโครงการและยังไม่ตัดสินใจซื้ออีกกว่า 100,000 ราย รวมถึงความเชื่อมั่นของสถาบันการเงินที่พร้อมสนับสนุนการก่อสร้างโครงการ ใหม่ของบริษัท และการพัฒนาทุกโครงการภายใต้หลัก "Value Engineering" ควบคู่ไปกับการเพิ่มความเข้มข้นในการพัฒนาประสิทธิภาพของงานบริหารชุมชน ทำให้ LPN พร้อมที่จะเผชิญกับภาวะวิกฤติที่อาจรุนแรงครั้งนี้ และจะเติบโตจากปีที่ผ่านมาประมาณ 10-15% เป็นผลมาจากการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง และการตั้งเป้าการเติบโตที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน" นายโอภาสกล่าว

กรรมการผู้จัดการกล่าวเพิ่มเติมด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ว่า สำหรับความสำเร็จในการพัฒนาแบรนด์ "ลุมพินี คอนโดทาวน์" และการส่งมอบโครงการลุมพินี คอนโดทาวน์ บดินทร์เดชา-รามคำแหง และลุมพินี คอนโดทาวน์ รามอินทรา-หลักสี่ ในปีที่ผ่านมา นับเป็นความภาคภูมิใจของบริษัทที่ได้ตอบสนองความต้องการมีบ้านหลังแรกสำหรับ คนทั่วไปภายใต้ราคาขายที่เหมาะสมและง่ายต่อการเป็นเจ้าของ โดยให้ความสำคัญกับการบริหารชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดการอยู่อาศัย ในขณะเดียวกันก็เป็นความท้าทายทั้งในด้านการพัฒนาโครงการและระบบบริหาร จัดการ ซึ่งจากความสำเร็จที่ LPN ได้รับนับเป็นส่วนหนึ่งที่ตอกย้ำความเป็นมืออาชีพของบริษัท ในปี 2552 นี้ LPN จึงมุ่งมั่นที่จะใช้ 2 โครงการคุณภาพดังกล่าวเป็นต้นแบบในการพัฒนา "ชุมชนเมืองขนาดย่อม" (Small Size Township) เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และนำข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาโครงการภายใต้แบรนด์นี้ต่อไป

ส่วนผลประกอบการในปี 2551 ที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายที่เติบโตขึ้นจากปีก่อนโดยมียอดขายทั้งสิ้น 9,000 ล้านบาท จาก 5 โครงการหลักที่เปิดตัวในปีที่ผ่านมา ได้แก่ ลุมพินี วิลล์ รามคำแหง 26, ลุมพินี สวีท และ ลุมพินี เพลส พระราม 8, ลุมพินี เพลส พระราม 9 และลุมพินี วิลล์ บางแค ซึ่งทุกโครงการได้รับการตอบรับจากกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี นอกจากนั้น คาดว่าบริษัทจะมีรายได้รวมเป็นเงิน 7,200 ล้านบาท จากการโอนกรรมสิทธิ์ใน 7 โครงการ ได้แก่ ลุมพินี เพลส นราธิวาส-เจ้าพระยา, ลุมพินี เพลส พหล-สะพานควาย, ลุมพินี เพลส ปิ่นเกล้า 2, ลุมพินี เพลส รัชดา-ท่าพระ, ลุมพินี วิลล์ รามคำแหง 44, ลุมพินี คอนโดทาวน์ บดินทร์เดชา-รามคำแหง และลุมพินี คอนโดทาวน์ รามอินทรา-หลักสี่ และจากการที่ LPN มีการจดทะเบียนอาคารชุดในปีที่ผ่านมาจำนวน 5 โครงการ รวมกว่า 8,000 ยูนิต ส่งผลให้ LPN มีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับหนึ่งในธุรกิจคอนโดมิเนียมโดยมีส่วนแบ่งการ ตลาดประมาณ 30%

"ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศเราประสบภาวะยากลำบาก เช่นปัจจุบัน LPN เชื่อว่าด้วยประสบการณ์ด้านการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของบริษัทที่มีมาก ว่า 20 ปี ความพร้อมรับมือกับภาวะวิกฤติ และแผนการเปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่องตลอดปี 2552 จะก่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและ เป็นเฟืองสำคัญที่ช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เป็น อย่างดี" กรรมการผู้จัดการ LPN กล่าวในที่สุด


Please read our General Disclaimer & Warning carefully.
Use of this Website constitutes acceptance of the Terms of Website Use.
Copyright © 2024. ThaiListedCompany.com. All Rights Reserved.