บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจและการบริหารงานนับจากวันจัดตั้งบริษัท
สรุปได้ดังนี้
-
ปี 2566
-
- พัฒนาโครงการต่อเนื่องในรูปแบบ Investor Program ภายใต้ แบรนด์ EARN เป็นครั้งแรก โดยเป็นการขยายการพัฒนา โครงการเข้าสู่พื้นที่ EEC ในเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรีอีกครั้ง ซึ่งได้รับการออกแบบห้องฟังก์ชันใหม่ โดยนําอินไซต์จากลูกค้ามาพัฒนา รวมถึงพื้นส่วนกลางที่ตอบโจทย์เรื่องของการพักผ่อน และความเป็นส่วนตัวที่มอบให้ผู้อยู่อาศัยอย่างครบครันมากที่สุดในย่านนี้
- เปิดตัวโครงการ “เรสซิเดนซ์ 168 ราชพฤกษ์” บ้านเดี่ยวระดับ ลักซ์ชัวรี โครงการแรก ภายใต้แบรนด์ 168 ซึ่งเป็นโครงการ ที่ต่อยอดความสําเร็จ จากการพัฒนาบ้านเดี่ยวระดับพรีเมียม 'BAAN 365'
- การจัดกิจกรรมเพื่อการขาย “LPN Moredinary Home Expo" โดยคัดเลือกโครงการและยูนิตที่น่าสนใจ ไปจัดแสดง และมอบโปรโมชั่นเฉพาะภายในงานเท่านั้น รวมถึงการจัดหา กิจกรรมพิเศษเพื่อให้สะท้อนถึงภาพลักษณ์ใหม่ของ แบรนด์ LPN สู่กลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่หลากหลายมากขึ้น
- นับเป็นปีแห่งการขยายการรับรู้ และสร้างประสบการณ์ใหม่ของ LPN ทั้งกับกลุ่มเป้าหมายเดิม และขยายสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่ จากจุดเริ่มต้นที LPN ต้องการส่งมอบความ น่าอยู่” ให้กับลูกค้า ทุกคน จึงเป็นที่มาของการสื่อสารแบรนด์ผ่านแคมเปญ “ติดธุระ ที่บ้าน” โดยนําส่วนหนึ่งของประสบการณ์จริงจากผู้อยู่อาศัยมาสร้างสรรค์เรื่องราวที่สะท้อนความน่าอยู่ ในรูปแบบภาพยนตร์ โฆษณา 3 เรื่อง 3 ไลฟ์สไตล์ คือ เจ้านายที่รัก เพื่อนที่รัก และแฟนที่รัก โดยมี Tagline คําว่า “สารภาพว่าติดบ้าน เป็นข้อความหลักในการสื่อสารแบบ 360 องศา และเป็นไอเดีย ที่ต้องการสื่อสารให้บุคคลทั่วไปเข้าใจแบรนด์ LPN ได้ง่ายขึ้น
-
ปี 2565
-
- ปีแห่งการเริ่มต้นแผนโรดแมป 5 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2569 เพื่อผลักดันรายได้รวม 50,000 ล้านบาท ผ่านการพัฒนารูปแบบการบริหาร และการออกแบบที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มลูกค้าในทุกระดับ
- พัฒนารูปแบบตราสัญลักษณ์องค์กรใหม่ เพื่อสะท้อนแนวคิดการทำงานและการพัฒนาแบรนด์ LPN สู่ความแข็งแกร่งต่อเนื่อง
- ก้าวสู่มิติใหม่ของ LPN เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่าน 5 Transformation ได้แก่ Corporate Transformation, Management Transformation, Project Development Transformation, Digital Transformation และ Brand Transformation อย่างแท้จริง
- ปรับโครงสร้างบริหารการพัฒนาโครงการภายในใหม่ เป็นรูปแบบของหน่วยธุรกิจ (Business Unit) เพื่อความคล่องตัวและสอดคล้องกับแผนการขับเคลื่อนองค์กรต่อไป
- มุ่งมั่นสร้างการรับรู้ใหม่ของ LPN ภายใต้แบรนด์ ‘168’ เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าเป้าหมาย และขยายฐานลูกค้ามากขึ้น โดยยึดความต้องการของลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
- เปิดขาย 3 โครงการคอนโดมิเนียม “แบรนด์ 168” ภายใต้แนวคิดการพัฒนาโครงการใหม่ ได้แก่ เพลส 168 ปิ่นเกล้า, วิลล์ 168 บางหว้า และ พาร์ค 168 อ่อนนุช 19 ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
-
ปี 2564
-
-
บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์
จำกัด (LPP) ซึ่งเป็นบริษัทบริหารจัดการ
ชุมชนในเครือ เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น
“บริษัท แอล พี พี พรอพเพอร์ตี้
มาเนจเมนท์ จำกัด” และได้มีการปรับ
โครงสร้างธุรกิจเพื่อให้มีความชัดเจน
ในการบริหารจัดการ และเพื่อประโยชน์
ในการขยายธุรกิจในอนาคต โดย LPN
จะดำเนินธุรกิจด้านพัฒนาที่อยู่อาศัย
ทั้งอาคารชุดและบ้านพักอาศัย ในขณะที่
LPP จะทำธุรกิจด้านบริการที่เกี่ยวข้อง
กับอสังหาริมทรัพย์เป็นหลัก
- “ลุมพินี ทาวเวอร์ วิภาวดี” อาคาร
สำนักงานแห่งใหม่บนถนนวิภาวดี พัฒนา
เสร็จสมบูรณ์ และได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่ง
ในการดูแลสังคม ด้วยการจัดตั้งเป็น
ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 ให้กับแรงงาน
ก่อสร้างจากทั้งชาวไทยและชาวต่างด้าว
- “ลุมพินี ทาวน์วิลล์ พหลโยธิน - สะพานใหม่”
สร้างปรากฏการณ์ปิดการขายทั้งโครงการ
262 หลัง เพียง 1 ปี 10 เดือน นับเป็น
การความสำเร็จที่สำคัญของแบรนด์
“บ้านลุมพินี” ที่เติบโตดีสวนกระแส
ท่ามกลางสถานการณ์โควิดที่ยังคง
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจ
-
ปี 2563
-
-
รับมือและปรับตัวอย่างรวดเร็ว ท่ามกลางวิกฤติ COVID-19 ด้วยการ
ประเมินสถานการณ์และทบทวนแผนธุรกิจโดยเร่งด่วน วางมาตรการและ
แนวปฏิบัติที่เข้มงวดทุกมิติ ทำให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันก้าวผ่าน
สถานกาณ์ยากลำบากไปด้วยกันได้อย่างมั่นคงและพร้อมเติบโตอย่างยั่งยืน
- พัฒนาระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี เพื่อรองรับมาตรการ Work from
Home อาทิ ระบบลงชื่อเข้าทำงาน ระบบบัญชีออนไลน์ สำนักงานขาย
ออนไลน์ รวมถึงระบบสื่อสารและให้บริการลูกค้า ได้แก่ Line Official
Account : LPN Connect
- โครงการลุมพินี เพลส เตาปูน อินเตอร์เชนจ์ ปรับแผนเปิดตัวและกลุยทธ์
การขาย โดยผ่านทีม Tele sale ประสบความสำเร็จกับยอดขายกว่า 300
ยูนิต คิดเป็น 70% ของจำนวนห้องที่เปิดรับจอง
- สร้างรายได้โดยผลักดันยอดขายและจัดการสินค้าพร้อมขาย (Inventory)
ด้วยเครื่องมือทางการเงินและการตลาด เช่น โครงการนักลงทุน โครงการ
ให้เงินทำงาน “ซื้อคอนโดพร้อมผู้เช่า” โครงการ Staff Gets Member และ การจับมือพันธมิตรซื้อขายบนออนไลน์แพลตฟอร์ม
-
ปี 2562
-
- ได้รับการจัดอันดับเครดิตองค์กรจากบริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ที่ระดับ “A-”
สะท้อนความมั่นคงขององค์กรด้วยผลการดำเนินงานที่
โดดเด่น มีความชัดเจนของกลุ่มผลิตภัณฑ์และบริการ มีความสามารถในการบริหารต้นทุนการก่อสร้าง
การดำเนินนโยบายการเงินอย่างรัดกุมมีเสถียรภาพ และมีสภาพคล่องทางการเงินที่เพียงพอ
- ร่วมทุนกับบริษัท นายณ์ เอสเตท จำกัด (NYE)จัดตั้งบริษัท ดลศิริ ดีเวลลอปเม้นท์
จำกัด”เพื่อพัฒนาอาคารสำนักงานและร้านค้าปลีกให้เช่า บนทำเลศักยภาพริมถนนพระราม 4
-
ปี 2561
-
- ศาสตราจารย์ศิริ เกวลินสฤษดิ์ ได้ขอลาออกจากการเป็นรองประธานกรรมการบริษัทและกรรมการอิสระ
โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป
- นายวุฒิพล สุริยาภิวัฒน์ ลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
- นายทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ลาออกจากตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กรรมการสรรหา ค่าตอบแทน
และบรรษัทภิบาล
- แต่งตั้ง นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 11 มกราคม 2561
เป็นต้นไป
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2561 ได้มีมติดังต่อไปนี้
- แต่งตั้ง นายเกริก วณิกกุล ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหา ค่าตอบแทน
และบรรษัทภิบาล และกรรมการอิสระ
- แต่งตั้ง นายวุฒิพล สุริยาภิวัฒน์ ดำรงตำแหน่งรองประธานกรรมการบริษัท
- แต่งตั้ง นายขันธ์ชัย วิจักขณะ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
- แต่งตั้ง นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
และประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป
- นางจงจิตต์ ฐปนางกูร และนายจรัญ เกษร ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม
2561 เป็นต้นไป
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2561 เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2561 ได้มีมติดังต่อไปนี้
- แต่งตั้งนายอภิชาติ เกษมกุลศิริ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน
(Chief Finance Officer: CFO)
- แต่งตั้งนายสุรวุฒิ สุขเจริญสิน ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัทและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารด้านกลยุทธ์
(Chief Strategy Officer: CSO)
- แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่แทนคณะกรรมการบริหารชุดเดิม ประกอบด้วยนายโอภาส ศรีพยัคฆ์ นายอภิชาติ
เกษมกุลศิริ และนายสุรวุฒิ สุขเจริญสิน โดยมีนายโอภาส ศรีพยัคฆ์ ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร
- แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงชุดใหม่แทนคณะกรรมการบริหารความเสี่ยงชุดเดิม ประกอบด้วยนายโอภาส ศรีพยัคฆ์
นายอภิชาติ เกษมกุลศิริ นายสุรวุฒิ สุขเจริญสิน นายจรัญ เกษร นางสาวสมศรี เตชะไกรศรี นายพร วิรุฬรักษ์
นางสาวสุรัสวดี ซื่อวาจา และนายประพันธ์ศักดิ์ รักษ์ไชยวรรณ โดยมีนายโอภาส ศรีพยัคฆ์
ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง
- บริษัทได้ออกหุ้นกู้แบบเสนอขายในกรณีจำกัด (Private Placement หรือ PP)
โดยอาศัยมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2561 จำนวน 2 ครั้ง วงเงินรวม 980,000,000 บาท
(เก้าร้อยแปดสิบล้านบาทถ้วน)
- บริษัทย่อยของบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO จาก Bureau Veritas Certification ดังนี้
- บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด ได้รับใบรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015
- บริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด ได้รับใบรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2014 และ ISO 9001:2015
- บริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (เดิมชื่อ “บริษัท ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์
จำกัด”) ได้รับใบรับรองมาตรฐาน ISO 9001:2015
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 8/2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561
มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืนวัตถุประสงค์เพื่อบริหารการเงิน วงเงินสูงสุดในการซื้อหุ้นคืน 400,000,000 บาท
กำหนดจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืน 42,000,000 หุ้น จากมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท คิดเป็นร้อยละ 2.85
ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมด โดยซื้อในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
และกำหนดระยะเวลาซื้อหุ้นคืนตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 3 มิถุนายน 2562
- พัฒนาอาคารชุดพักอาศัยระดับพรีเมียมให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายระดับกลาง-บน ภายใต้แบรนด์ “ลุมพินี ซีเล็คเต็ด”
ได้แก่ โครงการ “ลุมพินี ซีเล็คเต็ด สุทธิสาร-สะพานควาย” เจาะกลุ่มผู้หญิงวัยทำงาน
พร้อมปรับโฉมการออกแบบทั้งภายในและภายนอก รวมถึงห้องชุด “New LPN Design” โดยเพิ่มตู้เสื้อผ้าแบบ Walk-in
Closet, Bay Window และนำเทคโนโลยี Smart Room ระบบการสั่งงานอัจฉริยะ เปิด-ปิดไฟฟ้าห้องชุดผ่านมือถือ
มาใช้อำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยตลอดการเข้าพักอาศัย
- ขยายธุรกิจไปยัง “ออฟฟิศ คอนโด” ที่ประกอบด้วยอาคารสำนักงานและอาคารชุดพักอาศัยในบริเวณเดียวกัน
ด้วยรูปแบบมิกซ์ยูส โดยนำร่องด้วยโครงการ “ลุมพินี พาร์ค วิภาวดี จตุจักร” ซึ่งมีผลตอบรับอย่างดีและปิดการขายได้
100% จากจำนวนยูนิตที่เปิดขายทั้งหมด
- สร้างรายได้ประจำจากการปล่อยเช่าโครงการพร้อมอยู่ เช่น โครงการ “ลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง 1” “ลุมพินี
วิลล์ ราชพฤกษ์-บางแวก”พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่ครบครันภายใต้สังคมคุณภาพ
รองรับความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่อยากมีบ้านแต่ยังไม่พร้อมตัดสินใจซื้อ รวมถึงกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักลงทุน
- ปรับภาพลักษณ์องค์กร (Rebranding) เพื่อรองรับกลยุทธ์การขยายขอบเขตการพัฒนาโครงการให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
ภายใต้จุดยืนของแบรนด์ที่ให้ความสำคัญสูงสุดกับคน สร้างสังคมน่าอยู่
ชุมชนน่าอยู่และองค์กรน่าอยู่ที่สอดคล้องกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
- นำมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 และ ISO 14001 มาใช้ในธุรกิจบริการเพื่อเสริมศักยภาพด้านการแข่งขัน
และสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้แก่ผู้รับบริการ
-
ปี 2560
-
- บริษัทได้ออกหุ้นกู้แบบเสนอขายในกรณีจำกัด (Private Placement หรือ PP)
โดยอาศัยมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2553 จำนวน 3 ครั้ง วงเงินรวม 1,000,000,000.- บาท
(หนึ่งพันล้านบาทถ้วน)
- ที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2560 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2560 มีมติอนุมัติแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 3
วัตถุประสงค์ของบริษัท โดยเพิ่มวัตถุประสงค์จากเดิม 46 ข้อ เป็นวัตถุประสงค์เป็น 54 ข้อ
- ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2560 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 มีมติเข้าร่วมทุนกับบริษัท นายณ์ เอสเตท
จำกัด บริษัท ชีวาทัย จำกัด (มหาชน) บริษัท ช. การช่างเรียลเอสเตท จำกัด และผู้ถือหุ้นอื่นๆ
ที่เป็นบุคคลในการจัดตั้งบริษัท กมลา ซีเนียร์ ลิฟวิ่ง จำกัด
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและบริหารโครงการพักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลกมลา อำเภอกระทู้
จังหวัดภูเก็ต เป็นเงิน 375,000,000.- บาท (สามร้อยเจ็ดสิบห้าล้านบาทถ้วน)
โดยบริษัทมีสัดส่วนของการลงทุนในอัตราร้อยละ 25 ของเงินลงทุนทั้งหมด 1,500,000,000.- บาท
(หนึ่งพันห้าร้อยล้านบาทถ้วน)
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 2/2560 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560
มีอนุมัติการปรับโครงสร้างธุรกิจของบริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย
และลดสัดส่วนการถือครองหุ้นจากเดิมอัตราร้อยละ 99.93 ลดลงเหลืออัตราร้อยละ 52
โดยมีผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามาและดำเนินการเปลี่ยนโครงสร้างเงินทุน ดังนี้
- ทุนจดทะเบียน 50,000,000 บาท
- มูลค่าหุ้นละ 5.-บาท
- บริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย โดยบริษัทถือหุ้นในอัตราร้อยละ 99.99
ได้ดำเนินการเพิ่มทุนจดทะเบียนจากเดิม 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) เป็น 10,000,000 บาท (สิบล้านบาทถ้วน)
- ปีแห่งการปรับเปลี่ยน (Year of Shift) เพื่อรองรับภาวะถดถอย และสร้างความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
โดยแบ่งกลุ่มธุรกิจของบริษัทออกเป็นกลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และกลุ่มธุรกิจให้บริการ
พร้อมปรับแนวทางจากการให้บริการเฉพาะโครงการภายใต้การพัฒนาของบริษัท เป็นการให้บริการสู่ภายนอก
อันเป็นการดึงศักยภาพและความเป็นมืออาชีพ เพื่อสร้างคุณค่าและการเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับองค์กร
- ซื้อกิจการที่บริษัท วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น จำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ลุมพินี วิสดอม แอนด์ โซลูชั่น
จำกัด ทำหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้กับกลุ่มบริษัทในเครือ
- กลับมาพัฒนาอาคารชุดพักอาศัยให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย
และปรับภาพลักษณ์องค์กรครั้งใหญ่ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และกลุ่มเป้าหมายที่เพิ่มขึ้น
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ในแนวราบระดับพรีเมียม ทั้งในส่วนของบ้านเดี่ยวและทาวน์โฮม ภายใต้แบรนด์ “บ้าน
365” รองรับกลุ่มลูกค้าใหม่ที่ต้องการอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวใหญ่
และกลุ่มลูกค้าเดิมที่ต้องการขยายครอบครัว
- พัฒนาอาคารชุดพักอาศัยในรูปแบบตลาดเฉพาะกลุ่ม NICHE ภายใต้แบรนด์ “เดอะ ซีเล็คเต็ด เกษตร-งามวงศ์วาน บาย
แอล.พี.เอ็น.” เจาะกลุ่มนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีเยี่ยม
จนสามารถปิดการขายได้ภายในเวลาเพียง 2 ชั่วโมง
- ร่วมทุนกับบริษัท นายณ์ เอสเตท จำกัด บริษัท ชีวาทัย จำกัด (มหาชน) และบริษัท ช. การช่างเรียลเอสเตท จำกัด
จัดตั้งบริษัท กมลา ซีเนียร์ ลิฟวิ่ง จำกัด
เพื่อพัฒนาโครงการไลฟ์สไตล์ซีเนียร์ลิฟวิ่งระดับพรีเมียมในจังหวัดภูเก็ต
โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวต่างชาติที่เกษียณอายุ
-
ปี 2559
-
- บริษัทได้ออกหุ้นกู้แบบเสนอขายในกรณีจำกัด (Private Placement หรือ PP)
โดยอาศัยมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
2553 จำนวน 5 ครั้ง วงเงินรวม 750,000,000.-บาท (เจ็ดร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน)
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2559 ได้มีมติแต่งตั้ง นายขันธ์ชัย
วิจักขณะ
กรรมการบริษัท ดำรงตำแหน่งกรรมการอิสระของบริษัท
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 3/2559 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2559 ได้มีมติแต่งตั้ง นายขันธ์ชัย วิจักขณะ
กรรมการบริษัท
และกรรมการอิสระ ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจสอบ โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2559 เป็นต้นไป
- นายทวีชัย จิตตสรณชัย กรรมการบริษัท ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการตรวจสอบ และ กรรมการสรรหา ค่าตอบแทน
และบรรษัทภิบาล
โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2559 เป็นต้นไป
- นายทวีชัย จิตตสรณชัย กรรมการบริษัท ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท รองประธานกรรมการบริษัท
โดยมีผลนับตั้งแต่วันที่
1 สิงหาคม 2559 เป็นต้นไป
- ต่อยอดกลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” สู่ “ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย” เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย
ด้วยการพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์ด้านการออกแบบให้เหมาะกับคนทุกวัย “Universal Design”
และคุณค่าบริการผ่านกิจกรรมและการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย
- ร่วมมือกับสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ในการพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพของผู้พักอาศัยในโครงการ “ลุมพินี” โดยใช้พื้นที่กว่า 100 ชุมชน
เป็นแหล่งเชื่อมโยงกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ พร้อมพัฒนาขีดความสามารถและทักษะด้านสุขภาพของผู้จัดการชุมชน
ตอบโจทย์แนวคิด “ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย”
- ร่วมกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กระทรวงพลังงาน
ในการออกแบบอาคารให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน (Building Energy Code: BEC)
- พัฒนารูปแบบห้องชุด LPN New Design 2 ห้องนอน รูปแบบใหม่ขนาด 35 ตร.ม. ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง
ลงตัวทุกประโยชน์ใช้สอย
- เดอะ ลุมพินี 24 โครงการพิเศษที่พัฒนาขึ้นในโอกาสครบรอบ 24 ปีของบริษัทเสร็จสมบูรณ์ และเริ่มทยอยโอนกรรมสิทธิ์
นับเป็นโครงการระดับไฮเอนด์โครงการแรกของบริษัทที่ประสบความสำเร็จในด้านยอดขายเป็นอย่างสูง
- ส่งมอบลุมพินี พาร์คบีช ชะอำ รีสอร์ทคอนโดแห่งแรกริมหาดชะอำ ยกระดับงานบริการเสมือนโรงแรม
เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยการออกแบบตามมาตรฐาน
“LPN Signature Green Project” และการอนุรักษ์ต้นไม้เก่าแก่บนที่ดินเดิมกว่า 100 ปี
-
ปี 2558
-
- บริษัทได้ออกหุ้นกู้แบบเสนอขายในกรณีจำกัด (Private Placement หรือ PP)
โดยอาศัยมติที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
2553 โดยเป็นหุ้นกู้ชนิดระบุชื่อผู้ถือ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีประกัน และไม่มีผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้
และเป็นการเสนอขายเฉพาะนักลงทุนสถาบัน
และ/หรือนักลงทุนรายใหญ่ จำนวนรวมไม่เกิน 850,000,000.-บาท (แปดร้อยห้าสิบล้านบาทถ้วน) ดังนี้
- ครั้งที่ 1 เสนอขายในวงเงินไม่เกิน 600,000,000.-บาท ครบกำหนดไถ่ถอน ปี พ.ศ. 2560
- ครั้งที่ 2 เสนอขายในวงเงินไม่เกิน 250,000,000.-บาท ครบกำหนดไถ่ถอน ปี พ.ศ. 2561
- เพิ่มความเข้มข้นในการพัฒนาและเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้กลยุทธ์ “6 Green LPN”
ที่รับผิดชอบต่อผลกระทบกับผู้มีส่วนได้เสียทั้ง
8 กลุ่ม ใน 10 กระบวนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
- จากการดำเนินงานโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดมา ทำให้บริษัทได้รับ 5 รางวัล
แห่งความภาคภูมิใจด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
รวมถึงด้านความยั่งยืนและธรรมาภิบาล
- ส่งมอบบ้านหลังแรกให้กับสมาชิก “ชุมชนเมืองน่าอยู่” ลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง 1 เฟส 1
-
ปี 2557
-
- นายเทพ รุ่งธนาภิรมย์ ได้ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท กรรมการตรวจสอบ กรรมการสรรหา ค่าตอบแทน
และบรรษัทภิบาล และกรรมการอิสระ
โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 8
สิงหาคม
2557 จึงมีมติแต่งตั้ง นายขันธ์ชัย วิจักขณะ ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท และกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล
แทนนายเทพ รุ่งธนาภิรมย์ โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่าที่คงเหลืออยู่ของนายเทพ รุ่งธนาภิรมย์
โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่
8 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 5/2557 เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 นายปกรณ์ ทวีสิน
แจ้งความประสงค์ขอลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัท
ประธานกรรมการบริษัท และกรรมการอิสระ โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ดังนั้น
ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท
ครั้งที่ 5/2557 จึงได้มีมติแต่งตั้งการดำรงตำแหน่งของกรรมการและกรรมการชุดย่อย โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม
2558 ดังนี้
- แต่งตั้ง นายปกรณ์ ทวีสิน ดำรงตำแหน่ง ประธานกิตติมศักดิ์
- แต่งตั้ง นายอมรศักดิ์ นพรัมภา ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริษัท
- แต่งตั้ง นายวุฒิพล สุริยาภิวัฒน์ ดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการตรวจสอบ และ ประธานกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน
และบรรษัทภิบาล
- แต่งตั้ง นายทวีชัย จิตตสรณชัย ดำรงตำแหน่ง กรรมการตรวจสอบ
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2557 เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 ได้มีมติแต่งตั้ง นายจรัญ เกษร
ดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท
แทนนายปกรณ์ ทวีสิน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งเท่าที่คงเหลืออยู่ของนายปกรณ์ ทวีสิน โดยให้มีผลนับตั้งแต่วันที่ 1
มกราคม
2558 เป็นต้นไป
- มุ่งสู่ “องค์กรคุณค่า” ที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนในทุกภาคส่วนตามแนวทาง “6 GREEN LPN”
- ต่อยอดแนวคิดการสร้าง “ชุมชนต้นแบบ” เพื่อ “ชุมชนน่าอยู่” ที่ยั่งยืนภายใต้วัฒนธรรมการอยู่อาศัย “ร่วมใจ
ห่วงใย แบ่งปัน”
- พัฒนาต้นแบบโครงการสีเขียว LPN Signature Green Project
ภายใต้มาตรฐานการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมโครงการแรก
กับโครงการลุมพินี พาร์ค นวมินทร์-ศรีบูรพา
-
ปี 2556
-
- นางยุพา เตชะไกรศรี ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการบริษัทของบริษัท แกรนด์ ยูนิติ้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด
เนื่องจากบริษัทได้ขอถอนตัวจากการเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท
แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ในปี 2555
- ริเริ่มแนวคิดในการพัฒนา “ชุมชนเมืองน่าอยู่” ที่มีห้องชุดกว่า 10,000 ยูนิต
เพื่อตอบสนองความต้องการบ้านหลังแรก กับโครงการลุมพินี
ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง 1 บนพื้นที่กว่า 100 ไร่
- ร่วมกับบริษัท ซี.พี.ออลล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
เพื่อแบ่งปันคุณค่าองค์กรในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกในโครงการให้สมบูรณ์แบบ
- ต่อยอดแนวคิดการสร้าง “ชุมชนต้นแบบ” เพื่อ “ชุมชนน่าอยู่”ที่ยั่งยืน ภายใต้วัฒนธรรมการอยู่อาศัย “ร่วมใจ
ห่วงใย แบ่งปัน”
- พัฒนาโครงการเดอะ ลุมพินี 24 บนถนนสุขุมวิท เพื่อขยายฐานสู่กลุ่มลูกค้าระดับบน
- เริ่มใช้นวัตกรรมหุ่นจำลองฐานข้อมูลอาคาร (Building Information Modeling)
เพื่อพัฒนาระบบบริหารงานออกแบบและก่อสร้างโครงการ
-
ปี 2555
-
- ในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2555 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555 นายธีรชัย ปัญจทรัพย์
กรรมการบริษัทได้แจ้งความประสงค์ไม่ขอดำรงตำแหน่งกรรมการบริษัท
แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ดังนั้นกรรมการบริษัทจึงมีจำนวนทั้งสิ้น 13 คน นับตั้งแต่วันที่ 29
มีนาคม
2555 เป็นต้นไป
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2555 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2555
ได้มีมติตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
โดยแต่งตั้งนายพิเชษฐ ศุภกิจจานุสันติ์
เป็นประธานอนุกรรมการกำกับดูแลกิจการด้านความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 9/2555 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2555 ได้มีมติเปลี่ยน
“คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน”
เป็น “คณะกรรมการสรรหา ค่าตอบแทน และบรรษัทภิบาล” โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2555 เป็นต้นไป
โดยองค์คณะของคณะกรรมการยังคงเป็นชุดเดิม
- บริษัทได้ขอถอนตัวจากเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด โดยการขายหุ้นสามัญให้แก่
บริษัท
ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน)
- บริษัท พรสันติ จำกัด มีโครงการที่พัฒนาแล้วเสร็จเป็นปีแรก คือ โครงการลุมพินี ทาวน์ เพลส รัชโยธิน-เสนาฯ
และโครงการลุมพินี
ทาวน์ เรสซิเดนซ์ ลาดพร้าว-สเตชั่น
- ให้ความสำคัญกับกลุ่มเป้าหมายสูงวัย ด้วยแนวคิด “ครอบครัวสุขสันต์” (Pleasure Family) เพื่อให้
“ชุมชนน่าอยู่” สามารถตอบสนองต่อวิถีชีวิตร่วมกันของคนวัยทำงานและคนสูงวัย
- มุ่งเน้นแนวทางการพัฒนาองค์กรไปสู่ความยั่งยืน
- จัดตั้งสถาบันแอล.พี.เอ็น. (LPN Academy) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และจัดอบรมให้กับพนักงานภายในองค์กร
-
ปี 2554
-
- บริษัทได้แยกฝ่ายรักษาความสะอาดออกมาจากบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด และจัดตั้งเป็นบริษัท
ลุมพินี
พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ จำกัด ขึ้น เพื่อประกอบธุรกิจให้บริการด้านรักษาความสะอาด เพื่อสร้างอาชีพ
รายได้
และคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่สตรีด้อยโอกาส ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท
โดยมีเป้าหมายระยะยาวของบริษัทดังกล่าวให้ดำเนินงานในลักษณะขององค์กรเพื่อสังคม
(Social Enterprise)
- เพิ่มการลงทุนในบริษัท พรสันติ จำกัด จาก 195,000,000 ล้านบาท เป็น 350,000,000 ล้านบาท
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2554 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2554
กำหนดให้บริษัทมีนโยบายในการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นในอัตราไม่ต่ำกว่าร้อยละ
50 ของกำไรสุทธิจากงบการเงินรวม
- ขยายฐานการพัฒนาโครงการสู่ต่างจังหวัด ภายใต้แบรนด์ “ลุมพินี พาร์ค บีช”
- ร่วมกับ TK Park ในการพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ ในชุมชนด้วยแนวคิด “ห้องสมุดมีชีวิต”
-
ปี 2553
-
- บริษัทได้เริ่มใช้มาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 18 เรื่องรายได้ (ปรับปรุง 2552)
และมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ประกาศใหม่ ฉบับที่
19 เรื่องผลประโยชน์พนักงาน ก่อนที่มาตรฐานบัญชีดังกล่าวให้ถือปฏิบัติได้มีการแสดงอยู่ในงบการเงินปี 2553 และ
2552
เรียบร้อยแล้ว โดยการใช้มาตรฐานบัญชีดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือผลประกอบการของบริษัทในทุกมิติ
การบัญชีดังกล่าวมีผลบังคับใช้
1 มกราคม 2554 มี 22 ฉบับ และ 1 มกราคม 2556 อีก 2 ฉบับ
- ได้รับการประเมินจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)
ให้เป็นบริษัทที่มีการกำกับดูแลกิจการในระดับดีเลิศ
5 ตราสัญลักษณ์ 2 ปีซ้อน
-
ปี 2552
-
- ตามมติคณะกรรมการบริษัทที่ให้จัดทำโครงการซื้อหุ้นคืน (Treasury Stocks) เมื่อปี 2551 นั้น บริษัทได้ซื้อ
หุ้นคืนจำนวนทั้งสิ้น
8,146,300 หุ้น ในราคาเฉลี่ย 2.19 บาทต่อหุ้น คิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 17,841,198 บาท
และได้ขายหุ้นซื้อคืนจำนวนดังกล่าวระหว่างวันที่
3-11 ธันวาคม 2552 ในราคาเฉลี่ย 7.01 บาทต่อหุ้น คิดเป็นจำนวนเงินรวม 57,103,415 บาท
ซึ่งบริษัทได้กำไรจากการขายหุ้นซื้อคืนจำนวนเงินทั้งสิ้น
39,262,226 บาท
- แนวคิด From Corporate CSR to Community CSR ก่อให้เกิดชมรมจากครอบครัวลุมพินีหลายชมรม
โดยมีจุดประสงค์ร่วมกันทำกิจกรรมสาธารณะประโยชน์
- พัฒนาแบรนด์ “ลุมพินี พาร์ค” ที่เพิ่มคุณค่าผลิตภัณฑ์ด้วย “สวนรวมใจ” พื้นที่สีเขียวที่ส่งต่อความสุขร่วมกัน
-
ปี 2551
-
- จากวิกฤติสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (Subprime)
ที่เกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาและสถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยในช่วงปลายปี
2551 สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้ส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนจัดโครงการซื้อหุ้นคืน
(Treasury
Stocks) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุน ดังนั้นที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์
จำกัด
(มหาชน) ครั้งที่ 6/2551 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2551 จึงได้มีมติอนุมัติโครงการซื้อหุ้นคืน
เนื่องจากราคาหุ้นในตลาดช่วงนั้น
ต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐานของบริษัท โดยกำหนดวงเงิน ที่จะใช้ในการซื้อคืนเป็นจำนวนเงิน 200 ล้านบาท
โดยมีจำนวนหุ้นที่จะซื้อคืนประมาณ
62 ล้านหุ้น คิดเป็นร้อยละ 4.20 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมด คือ 1,475,698,768 หุ้น
และเป็นการซื้อเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น
โดยมีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่ 23 เมษายน 2552
- รางวัลเกียรติคุณจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในฐานะผู้ประกอบการที่ดีอย่างต่อเนื่อง
- พัฒนาโครงการภายใต้แนวคิด “LPN Green” ที่มุ่งเน้นในการรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
-
ปี 2550
-
- บริษัทได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการร่วมลงทุนในบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด
โดยลดสัดส่วนการถือหุ้นลงจากเดิมร้อยละ
33.33 เป็นร้อยละ 20 ของทุนจดทะเบียน และได้จัดตั้งบริษัท ลุมพินี โปรเจค มาเนจเมนท์ เซอร์วิส จำกัด ขึ้น
เพื่อประกอบธุรกิจให้บริการด้านการบริหารงานก่อสร้าง
- สื่อสารแบรนด์ ลุมพินี ผ่านแคมเปญ 30 Happy Days ได้รับเสียงสะท้อนด้วยความสุขของผู้อยู่อาศัยผ่าน Door
Hanging กว่า
3,000 ชั้น
-
ปี 2549
-
- ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2549 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549
มีมติอนุมัติลดทุนจดทะเบียนจาก 1,486,706,550
บาท เป็น 1,475,698,768 บาท โดยตัดหุ้นสามัญส่วนที่เหลือจากการสำรองไว้
เพื่อรองรับการใช้สิทธิในการแปลงใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน
11,007,782 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท และอนุมัติแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 4 ของบริษัท
เพื่อให้สอดคล้องกับการลดทุนจดทะเบียน
- พัฒนาแบรนด์ ลุมพินี คอนโดทาวน์ สำหรับกลุ่มเป้าหมายระดับกลางล่าง
- ทุกแบรนด์ลุมพินี ได้รับการตอบรับอย่างสูง เกิดนวัตกรรมทางการขายด้วยกลยุทธ์การออก Tag
-
ปี 2548
-
- ศาสตราจารย์โมรา บุณยผล ประธานกรรมการบริษัท ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2548
และมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท
ครั้งที่ 4/2548 ได้มีมติแต่งตั้ง นายปกรณ์ ทวีสิน ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 11
สิงหาคม
2548
- เริ่มกลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่” ที่มุ่งเน้นในการบริหารคุณภาพชีวิตให้กับผู้พักอาศัย
- ขยายกรอบการพัฒนาโครงการขนาดเล็กไปสู่ชุมชนเมืองขนาดย่อม (Small Size Township)
-
ปี 2547
-
- จากความสำเร็จของบริษัทในการพัฒนาที่พักอาศัย โดยเฉพาะซิตี้คอนโดใจกลางเมืองในระดับราคาล้านบาทต้นๆ
ทำให้บริษัทได้รับการยอมรับให้เป็นผู้นำธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทอาคารชุดพักอาศัยระดับกลาง
- ที่ประชุมใหญ่สามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2547 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547
มีมติให้เปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้จากเดิมหุ้นละ
10 บาท เป็นหุ้นละ 1 บาท ทำให้จำนวนหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นจากเดิม 121 ล้านหุ้น เป็น 1,210 ล้านหุ้น
นอกจากนี้ยังได้อนุมัติการเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน
276,706,550 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท รวมเป็นทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,486,706,550 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ
1,486,706,550 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 บาท
- บริษัทเพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด จากร้อยละ 25 เป็นร้อยละ 33.33
- เริ่มการจัดกิจกรรม LPN Family Day เพื่อขอบคุณลูกค้าและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน
-
ปี 2545
-
- บริษัทชำระหนี้คืนตามแผนปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ทั้งหมด กลายเป็นบริษัทที่ “ไม่มีหนี้สิน หากแต่มีบุคลากร
ซึ่งบริษัทรักษาไว้และได้รับการหล่อหลอมในช่วงวิกฤติให้กลายเป็นทรัพย์สินที่มีคุณภาพและดำรงตัวตน
ความเป็น LPN จนถึงปัจจุบัน”
- ซิตี้คอนโดทุกโครงการของบริษัทประสบความสำเร็จอย่างสูง นอกจากนี้บริษัทยังได้ร่วมทุนกับปิยมิตร
เพื่อพัฒนาอาคารที่ยังสร้างค้างไว้จนเสร็จสมบูรณ์
- อนุมัติการลดทุนจดทะเบียนจาก 3,983 ล้านบาท เป็น 460 ล้านบาท โดยเป็นการลดส่วนของหุ้นที่ยังไม่ได้นำออกจำหน่าย
และเพิ่มทุนจดทะเบียน
จำนวน 750 ล้านบาท คิดเป็นทุนจดทะเบียนรวม 1,210 ล้านบาท
พร้อมกับการแก้ไขเพิ่มเติมหนังสือบริคณห์สนธิให้สมบูรณ์สอดคล้องกัน
- เพิ่มทุนจำนวน 750 ล้านบาท โดยเป็นการออกหุ้นสามัญ 75 ล้านหุ้น แบ่งเป็น
- 27,600,000 หุ้น สำหรับผู้ถือหุ้นเดิม ในสัดส่วน 5 หุ้นเดิม มีสิทธิซื้อ 3 หุ้นใหม่
- 29,900,000 หุ้น สำหรับการใช้สิทธิแปลงใบสำคัญแสดงสิทธิเป็นหุ้นสามัญ โดยใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน
29,900,000 หน่วย
แบ่งเป็น
- ใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 27,600,000 หน่วย จัดสรรแก่ผู้ถือหุ้นเดิมที่ใช้สิทธิจองซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน
ในอัตราส่วน
1 หุ้นใหม่ต่อ 1 หน่วยใบสำคัญแสดงสิทธิ่
- ใบสำคัญแสดงสิทธิจำนวน 2,300,000 หน่วย จัดสรรแก่กรรมการและพนักงานบริษัทจำนวนไม่เกิน 35 ราย
- 17,500,000 หุ้น สำหรับการแปลงหนี้เป็นทุนของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
- บริษัทได้แต่งตั้งบริษัท ยูไนเต็ด แอ็ดไวเซอร์รี่ เซอร์วิส จำกัด
เป็นที่ปรึกษาในการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท
-
ปี 2544
-
- บริษัทริเริ่มการพัฒนาซิตี้คอนโดในเมือง ในขณะที่ผู้ประกอบการรายอื่นต่างชะลอการพัฒนาโครงการใหม่
โดยเริ่มที่โครงการลุมพินี
เพลส สาทร เป็นแห่งแรก และได้รับการตอบรับอย่างดี จนเป็นต้นแบบของการพัฒนาซิตี้คอนโดของผู้ประกอบการอื่นๆ
ในระยะต่อมา
- เดือนพฤศจิกายน 2544 บริษัทได้ตกลงทำสัญญาร่วมทุนกับบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) บริษัท แสนสิริ จำกัด
(มหาชน)
และบริษัท เยาววงศ์ จำกัด จัดตั้งบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมนท์ จำกัด ขึ้น
เพื่อพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยสร้างค้างที่หยุดดำเนินการตั้งแต่ปี
2540 เนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ โดยบริษัทร่วมทุนดังกล่าวได้เข้าฟื้นฟูและพัฒนาโครงการแรกภายใต้ชื่อ “ลุมพินี เพลส
วอเตอร์คลิฟ” โดยมีบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบด้านการบริหารการขายและการตลาด
การบริหารงานก่อสร้าง รวมถึงการเจรจากับกลุ่มผู้ซื้อเดิม
- กำหนดสมรรถนะหลัก (Core Competency) ด้วย CLASSIC
-
ปี 2542
-
- เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2542 บริษัทได้แต่งตั้งบริษัท คาเธ่ย์ แอสเซท แมเนจเมนท์ จำกัด
เป็นที่ปรึกษาในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท
โดยร่วมกันกำหนดแนวทางในการเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทุกราย
รวมถึงการวางแผนงานเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
ได้จัดให้มีการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่
1/2542 เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2542 ณ ห้องประชุมใหญ่ของบริษัท เพื่อพิจารณาเรื่องการเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท
จากเดิม
460 ล้านบาท เป็น 3,983 ล้านบาท โดยการออกหุ้นใหม่เป็นหุ้นสามัญเพื่อการเพิ่มทุนจำนวน 352,300,000 หุ้น
มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
10 บาท รวมจำนวน 3,523 ล้านบาท
- ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2542 มีมติเป็นเอกฉันท์ให้บริษัทขายเงินลงทุน
ในหุ้นของบริษัท
เอ็น.ที.เอ็น.คอนกรีต จำกัด ในมูลค่าหุ้นละ 0.01 สืบเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจซบเซา ในขณะนั้น ทำให้บริษัท
เอ็น.ที.เอ็น.คอนกรีต
จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจการค้าวัสดุก่อสร้างต้องประสบภาวะขาดทุน และส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบ อีกทั้งบริษัท
เอ็น.ที.เอ็น.คอนกรีต
จำกัด ไม่สามารถสนับสนุนการดำเนินงานของบริษัทได้
- บริษัทเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินในปี 2542 คิดเป็นมูลหนี้ทั้งสิ้น 3,132,610,000
บาท และสามารถสรุปแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ส่วนที่เหลือในมูลหนี้ประมาณ
170 ล้านบาท เรียบร้อยในเดือนกุมภาพันธ์ 2543
จึงถือได้ว่าบริษัทสามารถทำการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้ทั้งหมดในมูลหนี้รวมทั้งสิ้น
3,305,930,000 บาท
-
ปี 2541
-
- ถอนการลงทุนในบริษัท Elec & Eltek (Guangzhou) Real Estate Development Ltd.
เนื่องจากมีการชะลอโครงการตามแผนการพัฒนา
ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้บริษัทขาดสภาพคล่อง การถอนการลงทุนในครั้งนี้
มีผลทำให้บริษัทกำไรในส่วนต่างอัตราแลกเปลี่ยนประมาณ
3,390,000 บาท
-
ปี 2540
-
- บริษัทประสบปัญหาจากวิกฤติเศรษฐกิจและผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้บริษัทมีหนี้สินเกินกว่าจะชำระได้
บริษัทจึงจำเป็นต้องหยุดการจ่ายดอกเบี้ยกับสถาบันการเงิน
รวมถึงปรับเปลี่ยนแผนการก่อสร้าง
โดยมุ่งดำเนินงานเฉพาะในโครงการที่ใกล้แล้วเสร็จด้วยการสนับสนุนที่ดียิ่งจากปิยมิตร
พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกส่วน
- ขยายงานบริการของบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด
เนื่องจากเล็งเห็นช่องว่างของตลาดในช่วงภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจ
และเพื่อเป็นการรักษาบุคลากรจึงได้ขยายส่วนงานบริการต่างๆ ขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของตลาด
- ปรับโครงสร้างองค์กรและพัฒนาประสิทธิภาพของบุคลากร เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ นายจำลอง
รัตนกุลเสรีเริงฤทธิ์
ได้ขอลาออกจากประธานกรรมการบริษัทเนื่องจากปัญหาสุขภาพ และ นายพงส์ สารสิน ขอลาออกจากกรรมการบริษัท
เนื่องจากภารกิจในขณะนั้นทำให้ไม่สามารถให้เวลาได้เต็มที่
คณะกรรมการบริษัทจึงได้เรียนเชิญ นายโมรา บุณยผล เข้าดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทแทน
-
ปี 2539
-
- ลงทุนในบริษัท เอ็น.ที.เอ็น.คอนกรีต จำกัด ซึ่งประกอบธุรกิจประเภทวัสดุก่อสร้างเป็นจำนวนเงิน 10,200,000 บาท
หรือ 1,020,000
หุ้น คิดเป็นร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียนหรือมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
- บริษัทลงนามในสัญญากู้เงินตราต่างประเทศกับธนาคารชั้นนำ 5 แห่งของประเทศสิงคโปร์ เป็นยอดเงินรวม 20,000,000
เหรียญ
อายุสัญญา 3 ปี ในอัตราดอกเบี้ย SIBOR +1.20 เพื่อนำมาใช้พัฒนาโครงการ แอล.พี.เอ็น.สุขุมวิท ทาวเวอร์
-
ปี 2537
-
- จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2537 ทะเบียนเลขที่ บมจ. 477
ใช้ชื่อหลักทรัพย์ว่า
“LPN” และได้ออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 9.2 ล้านหุ้น เพื่อจัดสรรให้แก่ประชาชนทั่วไป โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
10 บาท และราคาเสนอขายต่อหุ้น 64 บาท ซึ่งต่อมาได้เพิ่มทุนเป็น 460 ล้านบาท เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2537
- ลงทุนในบริษัท Elec & Eltek (Guangzhou) Real Estate Development Ltd.
ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศฮ่องกงเป็นจำนวนเงิน
12,720,000 บาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของทุนชำระแล้ว
-
ปี 2536
-
- เพิ่มการลงทุนในบริษัท พรสันติ จำกัด เป็นร้อยละ 99.99 ของทุนชำระแล้ว 200 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ
1,000 บาท
-
ปี 2535
-
- จดทะเบียนจัดตั้งบริษัท ลุมพินี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 1,000,000
บาท โดยบริษัทเป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ
99.88 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้บริการด้านธุรกิจบริหารอสังหาริมทรัพย์
โดยเฉพาะการบริหารอาคารแก่นิติบุคคลอาคารชุดของโครงการต่างๆ
ที่บริษัทและบริษัทย่อยพัฒนาขึ้น
เป็นการให้บริการหลังการขายและสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพชีวิตของลูกค้าที่ซื้อผลิตภัณฑ์ของบริษัท
ถือเป็นนโยบายในการสร้างความแตกต่างและเป็นจุดแข็งในการแข่งขัน
-
ปี 2533
-
- ขยายการลงทุนและการพัฒนาการให้บริการภายใต้การดำเนินงานของบริษัทและบริษัทในเครือ
โดยบริษัทได้ลงทุนในบริษัท พรสันติ จำกัด เป็นจำนวนเงิน 10 ล้านบาท
คิดเป็นสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 20 ของทุนชำระแล้ว 50 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการพี.เอส.ที.คอนโดวิลล์
มูลค่าโครงการประมาณ 3,600 ล้านบาท
-
ปี 2532
-
-
บริษัทถือกำเนิดขึ้นจากบุคคลหลากหลายสาขาอาชีพที่มีความมุ่งมั่นร่วมกันในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่มีคุณภาพให้แก่สังคมไทย
โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่
21 มิถุนายน 2532 ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท และเริ่มต้นพัฒนาโครงการ “ลุมพินี
ทาวเวอร์” อาคารชุดสำนักงานสูง 38 ชั้นแห่งแรกบนถนนพระราม 4
ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่จนถึงปัจจุบัน